วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

นิยามของการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง โดยที่ใช้อุปกรณ์ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง
การสื่อสารเพื่อส่งข่าวสาร ผ่านทางสื่อต่าง ๆ เช่น โทรเลข โทรศัพท์ ไปรษณีย์ วิทยุ โทรทัศน์ วารสาร หนังสือพิมพ์ ซึ่งในยุคคอมพิวเตอร์เกิดการสื่อสารข้อ มูล(Data Communication) และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks)การสื่อสารข้อมูล (Data communication) หมายถึง การแลกเปลี่ยนของข้อมูลในลักษณะของ “0” และ “1” ระหว่างอุปกรณ์สองอุปกรณ์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ ระบบการเชื่อมโยง ระหว่างคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่สองตัวขึ้นไป เพื่อให้ระบบสามารถทำการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกันได้นั่นเอง

องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่
1. Source system คือ ระบบผู้ส่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข่าวสาร


2. Destination system คือ ระบบผู้รับเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข่าวสาร


3. Transmission system คือ ระบบที่เป็นสื่อกลางเชื่อมผู้ส่งและผู้รับ


ชนิดของสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์
สามารถแบ่งได้เป็น

• สัญญาณแบบAnalog เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง ค่าทุกค่าที่เปลี่ยนแปลงไปของระดับสัญญาณจะมีความหมาย ถูกรบกวนทำให้แปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากค่าทุกค่าถูกนำมาใช้งานนั่นเอง ซึ่งสัญญาณแบบ Analog นี้ เป็นสัญญาณที่สื่อกลางในการสื่อสาร ส่วนมากใช้ เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์
• สัญญาณ Digital ประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า อาจเป็น on/off หรือ 0/1 หรือ มีอำนาจแม่เหล็ก/ไม่มีอำนาจแม่เหล็กมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูง เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้

เครื่องมือในการแปลงสัญญาณ

MODEM (MOdulator-DEModulator) คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาลอกและแปลงกลับCODEC (COder-DECoder) คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอล และแปลงกลับวิธีการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์มี 2 แบบ

1. การสื่อสารแบบไม่ประสานจังหวะ (Asynchronous transmission)

2. การสื่อสารแบบประสานจังหวะ (Synchronous transmission)

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล มี 3 แบบ
  • 1. แบบทิศทางเดียว (Simplex) เช่น วิทยุ หรือโทรทัศน์
  • 2. แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
  • 3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex) เช่น ระบบโทรศัพท์
    การสื่อสารข้อมูล แบบอนุกรม และ แบบขนาน (Serial & Parallel Transmission) การสื่อสารแบบอนุกรมเป็นการส่งข้อมูลทีละบิตต่อครั้งผ่านสายสื่อสาร ในขณะที่การสื่อสารข้อมูล แบบขนานจะส่งข้อมูลเป็นชุดของบิตพร้อม ๆ กันในแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้เร็วกว่าแบบอนุกรม แต่เสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าเช่นกันเนื่องจากสายที่ใช้ต้องมีช่องสัญญาณ จำนวนมาก เช่น 8 ช่องเพื่อให้ส่งข้อมูลได้ 8 บิตพร้อมกัน
    การสื่อสารข้อมูล แบบ Baseband และ แบบ BroadbandแบบBaseband ที่เวลาใดเวลาหนึ่ง จะมีสัญญาณข้อมูลเพียงตัวเดียววิ่งอยู่บนสายสัญญาณการสื่อสารข้อมูล แบบBroadband ที่เวลาใดเวลาหนึ่ง สามารถมีสัญญาณข้อมูลหลายสัญญาณวิ่งอยู่บนสาย

http://www.sawi.ac.th/elearning/networks/page1.htm







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น